หมวดหมู่: บทวิเคราะห์
Asia Plus Group Holding
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
มุมมองของ ธปท. ที่มองต้นเหตุของ Fund Flow ไหลเข้า และการให้ภาพอัตราดอกบึ้ยที่แท้จริงของประเทศว่าอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ดูเหมือนว่าโอกาสที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของไทยในระยะสั้น มีค่อนข้างน้อย และหากพิจารณาบนพื้นฐานเรื่อง Earning Yield Gap ของตลาดหุ้นไทย ทำให้ดูเหมือนว่าค่า PER ปัจจุบันยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง และอาจทำให้ SET Index ต้องอยู่ในภาวะของการปรับฐาน Top Picks วันนี้เลือก MINT (FV@ 47) และ BJC (FV@B 61)
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …ดัชนีแกว่งลบตลอดทั้งวัน
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ ยังคงเคลื่อนไหวในแดนลบ ก่อนจะปิดตลาดที่ระดับ 1718.85 จุด ลดลง 9.13 จุด (-0.53%) มูลค่าการซื้อขาย 6.26 หมื่นล้านบาท ด้วยแรงกดดันจากแทบทุกกล่มอุตสาหกรรม นำโดย กลุ่งพลังงาน-ปิโตรฯ PTTEP(-1.84%) PTTGC(-1.98%) IRPC(-3.76%) กลุ่มโรงไฟฟ้า-พลังงานทดแทน EA(-2.78%)  GPSC(-4.58%) รวมไปถึงหุ้นในกลุ่มกองทุนรวมอสังหาฯ และโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ FTREIT(-11.46%) TLGF(-7.83%)  ซึ่งช่วงก่อนหน้านี้ราคาได้ปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
 
ในงาน Analyst Meeting ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการนำเสนอมุมมองที่จะนำไปสู่การกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยบางประการ เช่น การไหลเข้าของ Fund Flow ที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในปัจจุบัน ธปท. เห็นว่าไม่ได้เกิดจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ของไทย สูงกว่าประเทศต้นทาง แต่เป็นเพราะมุมมองที่ประเทศไทยถูกมองว่าเป็น Save Heaven ทำให้มีการไหลเข้ามาเพื่อเป็นแหล่งพักเงิน อีกประเด็นหนี่งที่น่าสนใจคือความเหมาะสมของอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน ซึ่ง ธปท. เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย – อัตราเงินเฟ้อ) ของประเทศไทยอยู่ที่ระดับต่ำเพียง 0.88% ซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ด้วยมุมมองทั้ง 2 เรื่องดังกล่าว ทำให้ฝ่ายวิจัยเห็นว่า สัญญาณที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยในระยะสั้น ค่อนข้างจะมีน้ำหนักน้อยมาก ซึ่งการตีความดังกล่าวเมื่อสะท้อนภาพกลับมาที่ตลาดหุ้นไทย อาจทำให้ดูเหมือนว่าที่ระดับ SET Index ปัจจุบัน มีค่า PER ที่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง ทั้งนี้หากคำนวนบนอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน และ Earning Yield Gap เป้าหมายที่ 4.28% (ค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง) จะให้ค่า PER อยู่ที่ 16.45 เท่า เทียบกับค่า PER ปัจจุบันที่สูงกว่า 16.6 เท่า ด้วยมุมมองดังกล่าวจึงทำให้ยังมีโอกาสที่จะเห็น SET Index อยู่ในภาวะของการปรับฐานได้ต่อ แต่ไม่น่าจะลงมาต่ำกว่า 1700 จุด 
ราคาน้ำมันดิบลดลง แม้สต็อกน้ำมันจะลดลงติดต่อ 5 สัปดาห์   
สำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐ(EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐปรับลดลงติดต่อกัน  5  สัปดาห์ติดต่อกัน คือ ลดลงแรงราว  3.1 ล้านบาร์เรล  มากกว่าที่ตลาดคาดจะลด 2.7 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบโลกยังปรับฐานต่อเนื่อง 3 วันรวมกันราว 5.12% โดยถูกกดดันจากประเด็นสถานการณ์ในตะวันออกกลางระหว่างอิหร่านกับสหรัฐผ่อนคลายลง     หลังจากอิหร่านเผยว่าพร้อมจะเจรจากับสหรัฐ ถ้าหากสหรัฐยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน   หากผ่อนคลายเชื่อว่าจะทำให้ Supply และการส่งออกน้ำมันของอิหร่านกลับมาเพิ่มขึ้น  อย่างไรก็ตามฝั่ง Supply ยังมีปัจจัยหนุนจาก กลุ่มประเทศ  OPEC และ Non OPEC ตกลงขยายระยะเวลาตัดลดกำลังการผลิตวันละ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ออกไปจนถึง  31 มี.ค.2563
ขณะที่ฝั่ง Demand  ถูกกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐและจีน(ผู้บริโภคน้ำมันราว  50% ของการบริโภคน้ำมันทั้งโลก) ล่าสุดรายงานภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ (Beig Book) ของ Fed  เผยว่าภาคเอกชนสหรัฐชะลอตัว  สะท้อนจากผลการสำรวจบริษัทเอกชนจำนวน 360 แห่งพบว่า 28% ได้รับผลกระทบในด้านลบจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของรัฐบาล และ 5% ได้ผลด้านบวกเช่นเดียวกับจีน ต้นสัปดาห์รายงาน GDP Growth งวด  2Q62 ขยายตัว 6.2%yoyต่ำสุดในรอบ 27 ปี 
โดยรวมเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันดูไบ ล่าสุดราคาปิดเมื่อวาน 60.72 เหรียญฯ  เฉลี่ยนับตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 64.3 เหรียญฯ  แต่ยังสูงกว่าสมมติฐานที่  ASPS  คาด 60 เหรียญฯ   ในปี 2562 และนับจากปี 2563  เป็นต้นไปคาดที่ 65 เหรียญฯ  โดยกลยุทธ์การลงทุนหุ้นพลังงาน-โรงกลั่นระยะสั้นยังคงแนะนำหลีกเลี่ยงลงทุนออกไปก่อน 
แบงค์ชาติส่งสัญญาณการลดดอกเบี้ยยังไม่จำเป็น
วานนี้ฝ่ายวิจัยได้เข้าร่วมประชุมกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มีประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นที่น่าสนใจ คือ  
 
แนวโน้มค่าเงินบาท   ล่าสุด อยู่ที่ 30.86  บาท/ดอลลาร์ยังแข็งค่าราว 5.2% นับตั้งแต่ต้นปี และแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาค   เนื่องจากวัฎจักรดอกเบี้ยโลกที่เป็นขาลง  หนุน Fund Flow ไหลเข้ามาในตราสารหนี้และตลาดหุ้น และไทยมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง ทั้งเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูง ล่าสุด 2.27 ล้านล้านบาท  และไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงเฉลี่ย  5M62 ราว  4.15 แสนล้านบาท  และการเมืองแข็งแกร่ง  ทำให้ปลายสัปดาห์ที่แล้ว ธปท. ออกมาตรการดูแลค่าเงินบาท 2 มาตรการ คือ ลดยอดคงค้างบัญชีเงินฝากสกุลบาทของต่างชาติ (Non-Resident) เหลือ 200 ล้านบาทต่อราย จากเดิม  300 ล้านบาท และเพิ่มความเข้มงวดคือ ให้รายงานการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ    โดย ธปท.พร้อมดำเนินมาตรการต่างๆเพิ่มเติมอีกหากเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อ  ซึ่งตีความได้เงินบาทที่อยู่บริเวณ 30.5-30.6 บาท/ดอลลาร์ เป็นจุดที่ ธปท. ให้น้ำหนัก พิจารณาได้จากการออกมาตรการดังกล่าว คืออยู่ในบริเวณนี้ 
 
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย  ธปท. มีมุมมองว่า Fund Flow ไหลที่เข้าไทยมิได้นำปัจจัยเรื่องดอกเบี้ยเป็นตัวกำหนดหลัก   เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest rate: อัตราดอกเบี้ยที่หักลบเงินเฟ้อ)ไทยต่ำมาก ราว 0.88% เมื่อเทียบกับประเทศในแถบเอเชีย (ดังรูป) และเทียบกับสหรัฐ ที่อยุ่ราว 0.7%  ทำให้มองว่าการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่อยู่ 1.75% อาจไม่ได้ช่วยลดการแข็งค่าของเงินบาทได้มากนัก 
 
โดยสรุปทำให้ ASPS  เชื่อว่าแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของไทย ในระยะสั้น หรือช่วง  2H62  ธปท. น่าจะยังไม่รีบลดดอกเบี้ยลงหรือมีโอกาสลดดอกเบี้ยน้อยลง  ซึ่งการตีความดังกล่าวเมื่อสะท้อนภาพกลับมาที่ตลาดหุ้นไทย อาจทำให้ดูเหมือนว่าที่ระดับ SET Index ปัจจุบัน มีค่า PER ที่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง ทั้งนี้หากคำนวนบนอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน และ Earning Yield Gap เป้าหมายที่ 4.28% (ค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง) จะให้ค่า PER อยู่ที่ 16.45 เท่า เทียบกับค่า PER ปัจจุบันที่สูงกว่า 16.6 เท่า ด้วยมุมมองดังกล่าวจึงทำให้ยังมีโอกาสที่จะเห็น SET Index อยู่ในภาวะของการปรับฐานได้ต่อ แต่ไม่น่าจะลงมาต่ำกว่า 1700 จุด
 
รัฐน่าจะเดินหน้ากระตุ้นการบริโภค หนุนหุ้นค้าปลีก 
กระแสการเดินหน้านโยบายกระตุ้นการบริโภคครัวเรือนของรัฐบาลชุดใหม่ยังมีต่อเนื่อง  โฟกัสไปที่กลุ่มมีรายได้น้อย โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน   หรือปรับเพิ่มราว  23% จากปัจจุบันอยู่ที่ 325 บาท/วัน  ล่าสุดรัฐบาลเผยว่า การปรับขึ้นมีโอกาสเป็นไปได้ แต่ต้องศึกษาผลกระทบ  โดยต้องมีการหารือจากตัวแทนทั้ง 3 ฝ่าย ทั้งภาครัฐ, เอกชน และลูกจ้าง  และมีระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติราว 3 เดือนซึ่งเป็นประเด็นที่ยังให้น้ำหนักว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่   หากปรับขึ้นจริงเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน แต่ในทางตรงกันข้ามจะกระทบต่อต้นทุนผู้ประกอบการ คือ  กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง,  กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์,  กลุ่มเกษตร-อาหาร, กลุ่มยานยนต์  (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงใน Market talkวันจันทร์ 15 ก.ค.)  
และอีกมาตรการกระตุ้นการบริโภคระยะยาว และมีการพูดถึง คือ การลดภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลง เฉลี่ย  10% ASPS คาดว่าหากมาตรการนี้เกิดขึ้นจริง มีโอกาสเกิดขึ้นปี 2563(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน Market talk เมื่อวานนี้)  โดย ASPS เชื่อว่ามาตรการนี้ แม้เม็ดเงินภาษีจ่ายหรือรายรับของรัฐบาลจะลดลงราว 3.2 หมื่นล้านบาท  แต่ผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมีมากกว่า คือ บวกต่อกำลังซื้อภาคครัวเรือน เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชนชั้นกลางซึ่งเป็นฐานภาษีหลักในกลุ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  เนื่องจากได้ผลประโยชน์จากภาษี    
โดยรวม เชื่อว่าหลายมาตรการดังกล่าวข้างต้นจะเป็นปัจจัยช่วยหนุนเศรษฐกิจ และช่วยลด Downside risk ของผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน (แม้งวด 2Q62 คาดกำไรสุทธิตลาดฯ อ่อนตัว QoQ จาก 2.66 แสนล้านบาทในงวด 1Q62) ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่าจะมี Sector ที่ได้ประโยชน์ และน่าจะ Outperform ตลาดฯ ได้ดี คือ 
กลุ่มที่เกี่ยวกับการบริโภค: นอกจากมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อจากภาครัฐ ช่วยจะหนุนการเติบโตยอดขายสาขาเดิม (SSSG)  ผู้ประกอบการหลักๆ ก็ได้มีการจัดแคมเปญส่งเสริมการขาย BJC(FV@B 61), CPALL, HMPRO, ROBINS และผู้ที่ขายอาหารสด MAKRO ได้รับอานิสงส์ราคาสินค้าหมูไก่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับกลุ่มเกษตร-อาหาร GFPT, TFG, CPF(FV@B 35) และ TU(FV@B 23)  (ซึ่งได้ประโยชน์จากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ วัตถุดิบทูน่าที่ลดลง) รวมไปถึงผู้ประกอบการร้านอาหาร M (FV@B 84) ล๊อคต้นทุนวัตถุดิบไว้แล้ว
 
กลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม: ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้น บวกกับ หากมีการต่ออายุมาตรการฟรีวีซ่า (VOA) แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ 21 ประเทศ จากเดิมจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ต.ค. นี้ เป็น 31 มี.ค. 2563 น่าจะเป็นปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวมากขึ้น ชื่นชอบ MINT (FV@B47)
 
กลุ่มบันเทิง: กำลังซื้อของประชากรที่เพิ่มขึ้น น่าจะหนุนให้ทางฝั่งผู้ประกอบการเร่งกระตุ้นยอดขาย ด้วยการทำโฆษณามากขึ้น ชอบ RS(FV@B 22.10) MAJOR(FV@B 33.00) และ PLANB(FV@B 8.20)
สำหรับ Top Pick วันนี้ ฝ่ายวิจัยยังคงชื่นชอบ MINT (FV@B47) และ BJC (FV@B 61) ราคา Laggard กลุ่มฯ
กองทุนอสังหาฯถูกเทขายแรง หลังจากหลายบริษัทเริ่มแพง
วัฎจักรดอกเบี้ยขาลง และความไม่แน่นอนจากประเด็นสงครามการค้า ส่งผลให้กองทุนอสังหาฯ ได้รับความนิยมสูงมากในปี 2562 หนุนให้ดัชนี PF&REIT ปรับตัวขึ้นมาเร็วและ Outperform ตลาดมากในช่วงที่ผ่านมา โดยทำจุดสูงสุด 251.84 จุด ณ วันที่ 11 ก.ค. 62 (ปรับตัวเพิ่มขึ้น 24.29% นับตั้งแต่ต้นปี 2562) จนหลายๆบริษัทเริ่มแพง สังเกตได้จากดัชนีกลุ่มฯมีค่า Premium ขึ้นไปสูงถึง 55% โดยเฉพาะสินทรัพย์ประเภทสิทธิการเช่าในกลุ่มอาคารสำนักงาน และศูนย์การค้า เป็นต้น 
 
ความแพงของหุ้นหลายๆ บริษัทในกลุ่มเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เห็นแรงขายหุ้นในกลุ่ม PF&REIT อย่างรุนแรงใน 3 วันทำการที่ผ่านมา เช่น SPRIME -17.9%, IMPACT -17.86%, FTREIT -17.26% เป็นต้น แม้ราคาหุ้นจะย่อตัวลงมาบ้าง แต่หลายๆบริษัทยังมี Premium สูงอยู่ สังเกตได้จากข้อมูลล่าสุด โดยฝ่ายวิจัยทำการคัดกรองหากองทุนอสังหาฯที่มี Premium ในกลุ่ม  PF&REIT มากสุด 10 อันดับแรก และ Discount มากสุด 10 อันดับแรก มีรายละเอียดดังนี้
 
ดังนั้นการเข้าลงทุนในกองทุนอสังหาฯในช่วงนี้ต้องมีความระมัดระวัง และวิธีการลงทุนเบื่องต้น แนะนำให้เลือกลงทุนในกองทุนอสังหาฯที่มีค่า Premium ไม่สูงมาก มีสภาพคล่องสูง พร้อมกับมีค่า Dividend Yield ที่อยู่ในระดับสูง เชื่อว่าราคาหุ้นน่าจะผันผวนน้อย และปลอดภัยจากการถูกขายกำกำไรมากขึ้น
 
ภรณี ทองเย็น, CISA 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!