หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov แพทองธาร9

การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 16 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อ (ร่าง) กรอบเจรจาด้านความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศของประเทศไทย สำหรับการจัดทำและพิจารณาแถลงการณ์ร่วมหรือความร่วมมือด้านความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ระหว่างปี พ.ศ. 2567 - 2569 และ (ร่าง) ท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 16 ระดับเจ้าหน้าที่ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงกรอบเจรจาและท่าทีไทยดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่อีกครั้ง

          2. เห็นชอบในหลักการต่อ (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 16 และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรอง ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) เอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาโดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

          3. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 16 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองซานเตียโก เด กาลิ สาธารณรัฐโคลอมเบีย

          สาระสำคัญ

          สำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ กำหนดจัดการประชุม CBD COP 16 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2567 ณ เมืองซานเตียโก เด กาลิ สาธารณรัฐโคลอมเบีย ประกอบด้วย 1) การประชุมระดับสูง (High-Level Segment) ระหว่างวันที่ 29 - 30 ตุลาคม 2567 และ 2) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่ ระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2567 เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานจากทุกภาคส่วนที่จะทำให้บรรลุเป้าประสงค์และเป้าหมายของกรอบงานคุณหมิง - มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Kunming - Montreal Global Biodiversity Framework: KM - GBF) ซึ่งหัวข้อที่หารือจะมุ่งเน้นในประเด็น การแปลงแผนความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ซึ่งเป็นแผนระยะแรกของ KM - GBF ไปสู่การปฏิบัติในระดับประเทศ การระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และการเร่งรัดการดำเนินงานด้านการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมเพื่อให้การแบ่งปันผลประโยชน์จากการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกลับคืนสู่แหล่งทรัพยากรเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด โดยรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเข้าร่วมประชุม CBD COP 16 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

          2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกร่างเอกสารสำหรับการประชุม CBD COP 16 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

              1) (ร่าง) กรอบเจรจาด้านความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2567 - 2569 มีสาระสำคัญ เช่น การสนับสนุนการแปลงแผนความหลากหลายทางชีวภาพของโลกไปสู่แผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ การสนับสนุนกลไกการระดมทรัพยากรทางการเงินที่ภาครัฐและเอกชนสามารถร่วมกันดำเนินงานอนุรักษ์และคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ การสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนการดำเนินงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนจากฐานชีวภาพ (Bio - Circular Economic) ในเวทีระหว่างประเทศ และการสนับสนุนความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ 

              2) (ร่าง) ท่าที่ไทยสำหรับการประชุม CBD COP 16 ระดับเจ้าหน้าที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบในการพิจารณารายละเอียดทางวิชาการของเอกสารผลลัพธ์การประชุม CBD COP 16 ให้สอดคล้องกับ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 และ (ร่าง) แผนการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2566 - 2570 ของประเทศไทย

              3) (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับการประชุม CBD COP 16 มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนในการรับมือกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นและความพยายามในการดำเนินการให้สามารถบรรลุเป้าหมาย KM - GBF ผ่านการจัดทำแผนความหลากหลายทางชีวภาพของอาเซียน (ASEAN Biodiversity Plan) และสนับสนุนการดำเนินการตาม (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมทั้งเน้นย้ำการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับระหว่างประเทศและภูมิภาค ตลอดจนการสนับสนุนด้านการเงิน การเสริมสร้างศักยภาพ และการส่งเสริมการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพประโยชน์และผลกระทบ 

          ประโยชน์และผลกระทบ เช่น

          การรับรอง (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม (ASEAN Senior Officials on the Environment: ASOEN) ในการประชุมครั้งที่ 35 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2567 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแล้วเป็นการร่วมแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกอาเซียน ในความมุ่งมั่นที่จะการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยมีโอกาสเข้าร่วมและได้รับการสนับสนุนงบประมาณในโครงการด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพในระดับภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานและเยาวชนจะมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เสริมสร้างสมรรถนะ และเข้าร่วมเครือข่ายการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาคอาเซียนและในระดับโลก

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 8 ตุลาคม 2567

 

 

10287

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX


TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!